Support Unit

Learning substance

Article

Research

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

วันที่  23  กันยายน  2557
นำเสนอบทความ

คนที่1    นางสาวนภาวรรณ  กรุดเงียม       เรื่อง   สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและได้เรียนโดยมีเพลงเป็นสื่อกลาง

คนที่2   นางสาวสุธาสินี  เรื่อง  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นไม่ควรแยกแยะควรพัฒนาเด็กในองค์รวมทั้ง 4ด้านควรเข้าใจคำถามของเด็กๆ

คนที่3  นางสาวฤมล   อิสสระ  เรื่อง  เด็กปฐมวัยอยากรู้อยากเห็นชอบตั้งคำถามว่า ทำไม

คนที่4   นางสาวยุพาดี  สนประเสริษฐ์    เรื่อง  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร



นำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำบทความทั้ง4เรื่องไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี

ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความและฟังอาจารย์บรรยาย

เพื่อน  ตั้งใจเรียนไม่ไคัยกันสนใจเพื่อนที่ออกไปนำเสนอบทความและช่วยกันตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม

อาจารย์   จะช่วยเสริมในสิ่งที่นักศึกษายังไม่รู้และค่อยบอกคำแนะนำต่างๆ


วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557






บทความเรื่อง มารู้จักกับสเต็มศึกษาว่าทำไมจึงมีความสำคัญ

โดย ดร.เปกกา เคส 


     การเรียนรู้ที่บูรณาการ การจัดการศึกษาทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับขั้นการศึกษาพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและรวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประชากรรุ่นใหม่ได้มีความรู้และทักษะการเรียนรู้ในทางสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่โลกเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต เพื่อให้เยาวชนไทยก้าวสู่การแข่งขันกับประชากรโลกได้ รวมทั้งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558(คศ.2015) “เสต็มศึกษา”นั้นจะช่วยพลิกโฉมการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยสเต็มศึกษานั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่เน้นการบูรณาการการเรียนรู้การนำไปใช้และการฝึกการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการใหม่ ๆไม่ใช่การเรียนที่เน้นการท่องจำหรือการเรียนเพื่อนำไปสอบเท่านั้น ซึ่งการเรียนแบบสเต็มศึกษานั้น จะเน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยครูผู้สอนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะตั้งคำถามให้เด็กสนใจและเรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนในห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา การพัฒนาขีดความสามารถของครู องค์ประกอบในการถ่ายทอดความรู้และการกระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งบประมาณที่จะมาดำเนินการโดยการกระทำที่เป็นระบบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่น กระทรวงไอซีที มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่จะต้องให้ความร่วมมือ เพื่อให้การเรียนการสอนแนวใหม่นี้ให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล รวมทั้งการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนได้ ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสะเต็ม โดยเริ่มมือสามปีที่ผ่านมาและพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้บ่อยขึ้นเพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาแต่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและการคิดค้นวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์เพื่อใช้ในอนาคต โอบามา ก็ได้สนับสนุนนโยบายการศึกษาของระบบสเต็ม โดยการให้องค์กรเอกชนที่ลงทุนโดยไม่หวังผลกำไรมาสนับสนุนผลักดันการศึกษาระบบสเต็มเพื่อเพิ่มคุณภาพนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์จากการวัดของหน่วยงาน Tim และ Pissa ได้ดำเนินการอยู่ ในหน่วยงานความร่วมือในระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยเราด้วยสำหรับประเทศที่มีการตื่นตัวกับการศึกษาในเรื่องสเต็มกันมากไม่วาจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อนเดีย ฯลฯ โดยจากการศึกษาพบว่าในจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสเต็มออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยนั้นยังไม่ตื่นตัวและยกระดับในเรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก สำหรับคนไทยในอนาคต

                                         



วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557






สรุปความลับของแสง


       แสงคือ คลื่นชนิดเหมือนกับคลื่นของทะเลมีความยาวของแสงสั้นมากและในขณะเดียวกันและแสงมีความสำคัญมากกับการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์  หรือสัตว์ พืช ก็ต้องการแสงถ้าเกิดเราอยู่ในที่มืดมันก็จะเกิดแสงสว่างขึ้นมา แล้วเราก็จะเกิดการแสบตาเพราะเราปรับตัวเข้ากับแสงไม่ทัน 
ในหลักการสท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไปทางทิศตรงข้ามกันตลอดเวลาเช่นเดียวกับการส่องกระจอกมักจะกลับข้างกับตัวเราอยู่เสมอ เหมือนกับการที่เราใส่นาฬิกาข้างซ้ายแต่เราสามารถส่องเห็นเป็นกระจอกได้กลายเป็นนาฬิกาข้างขวา
      

       การหักเหของแสง   มักจะเกิดขึ้นฉเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือเป็นที่ตัวกลางของแต่ละชนิด เช่น เมื่อแสงเดินผ่านอากาศเข้าสู่กระจอก ที่มีน้ำอยู่  จะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ
      
       เงา    เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้โดยแสง เป็นหลักตามธรรมชาติคือเงาของวัตถุที่จะเดิกขึ้นจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆพื้นด้านหน้าของวัตถุแสงจะส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนที่เดิกขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงา นั้นเอง


บันทึกอนุทินครั้งที่5

  

วันที่ 16 กันยายน 2557





                       



     อาจารย์ให้ฟังเพลงวิทยาศาสตร์แล้วก็ให้บอกชื่อเพลงที่เหมาะ
สมกับเด็กปฐมวัยโดยให้แต่ละคนบอกชื่อเพลงไม่ใ่ห้ซ้ำกันกับเพื่อน
และจากนั้นเพื่อนได้ออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
คนที่1 นางสาววินัส ยอดแก้ว เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์
คนที่2 นางสาวเจนจิรา บุตรช่าง เรื่องสอนลูกเรื่องพีช


นำไปประยุกต์ใช้
บทความที่เพื่อนออกไปนำเสนอสามารถไปสอนกับเด็กได้และไปใช้
ในอนาคตข้างหน้า


ประเมิน
ตนเอง ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบายหรือเพื่อนออกไปนำเสนองาน

เพื่อน เป็นผู้ฟังที่ดีไม่คุยกันในเวลาเรียน
อาจารย์ ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมที่นักศึกษายังไม่รู้




                         







บันทึกอนุทินครั้งที่4


วันที่ 9 กันยายน   2557




นำไปปประยุกต์ใช้
 
สามารถนำความรู้ที่ได้ใช้กับเด็กปบมวัยได้อย่างดีและไปใช้ในอนาคต


ประเมิน

ตนเอง   ตั้งใจเรียน

เพื่อน     ช่วยเหลือกันและกันไม่คุยตั้งใจเรียน

อาจารย์   บอกรายละเอียดในการทำงานและอธิบายให้นักศึกษามีความเข้าใจง่ายมากขึ้น





บันทึกอนุทินครั้งที่3





วันที่ 3 กันยายน  2557









ได้เข้าร่วมกิจกรรม
โคง   การศึกษาศาสตร์วิชาการ

อาคารพลศึกศา (ที่โรงยิม)  และได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของแต่ล่ะซุ้มอย่างมากมาย



บันทึกอนุทินครั้งที่2


วันที่ 26 สิงหาคม  2557



นำไปประยุกต์ใช้
    
    สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี


ประเมิน


ตนเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์ และจดเนื้อหาสาระที่สำคัญ

เพือน   ก็ตั้งใจเรียนไม่คุยกันเสียงดังในเวลาเรียน

อาจารย์ผู้สอน  ได้ยกตัวอย่างเข้าใจมากขึ้นในการอธิบายหรือบรรยายทำให้นักศึกษาเรียนง่ายขึ้น


บันทึกอนุทินครั้งที่1

วันที่ 19 สิงหาคม 2557






        สัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนในวันแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์แจกแนววการสอนเป็น(Coures Syllabus) และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาสิ่งที่จะสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพูดเรื่องของการเก็บคะแนของรายวิชานี้ พูดเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย