Support Unit

Learning substance

Article

Research

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15



วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557

การกำเนิดของเสียง 
    -ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถามกับเด็ก เช่น เสียงต่างกันอย่างไร และ มาจากไหน
     -กิจกรรมนี้ใช้ได้กับเด็กปฐมวัย จะต้องเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้ง่ายกว่าเดิมเพื่อที่จะเหมาะสมกับเด็ก


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย(งานวิจัย)
       - การเรียนรู้เรื่องสี คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้
นิยามศัพท์ ได้ทักษะการสังเกต จำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ ทักษะการลงความเห็น


สารอาหารในชีวิตประจำวัน
       -มโนทัศน์การเรียนรู้ การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร เช่น เค็ม เปรี้ยว หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน
สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ ช่วยกันวางแผนปรุงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลุ่มเลือก และช่วยกันปรุงอาหารนั้น


ไฟฟ้าและพันธุ์พืช
        -สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้ยอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์


การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย  (งานวิจัย)
      -กิจกรรมส่งให้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับทักษะความรู้ ซึ่งแสงได้อยู่รอบๆตัวเรา และนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องของแสง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย


การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร  (งานวิจัย)
-ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรม
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล
สรุปวิจัย
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพร


กิจกรรม

วัสดุอุปกรณ์
1. ไข่ไก่
2. เนย
3. แป้ง
4. น้ำ
5. ถ้วย
6. ช้อน

ขั้นตอนการทำ

เทแป้งลงภาชนะและตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด แล้วตีแป้งและส่วนประกอบอื่นๆให้เข้ากัน จนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและแข็งจนเกินไปเมื่อได้แป้งตามที่ต้องการ ตักใส่ถ้วยตวงเพื่อนำไปอบ ขณะเทแป้งลงเครื่องอบ ควรเทตรงกลางเพื่อให้แป้งสามารถกระจายได้ทั่วถึง   เมื่ออบเสร็จแล้วจะได้ วาฟเฟิล  ที่น่าหน้าตาน่ารับประทาน










นำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำวิธีการทำวาพเฟิลไปใช้ในการเรียนสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้ไม่ยากจนเกินไป


ประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบาย
            แต่งกายเรียบร้อย
            มาเรียนตรงต่อเวลา


เพื่อน ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุยกัน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นตามที่อาจารย์สอนและแนะนำ ช่วยกันทำกิจกรรมในห้องเรียน  และเพื่อนๆได้นำเสนอวิจัย โทรทัศน์ครู


อาจารย์ ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมกับการสอนอย่างละเอียดและได้บอกข้อที่บกพร่องเพื่อที่จะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปใช้

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557

กิจกรมมนำเสนอโทรทัศน์ครู/และวิจัย

  

กิจกรรมในห้องเรียน ทาโกยากิ





กิจกรรมในห้องเรียนไข่เทอริยากิ

เป็นกิจกรรมที่แสนง่ายสามารถนำไปใช้สอนเด็กได้เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากวิธีการทำก็แสนง่ายอุปกรณ์ส่วนผสมก็หาได้ทั่วไปแถมยังมีคุณค่าทาง 


ส่วนผสม        

-ไข่ไก่    
-ข้าวสวย        
-แครอท 
-ต้นหอม         
-ปูอัด        
-ซอสปรุงรส        
 -เนย 

วิธีการทำ        
 -ตีไข่ใส่ชาม     
 -นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี  -นำเนยใส่ในหลุมกระทะ         





นำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำวิธีกานทำทาโกยากิไปใช้ในการเรียนสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้ไม่ยากจนเกินไป




ประเมิน

ตนเอง ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบายและแต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุยกัน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นตามที่อาจารย์สอนและแนะนำ ช่วยกันทำกิจกรรมในห้องเรียน


อาจารย์ ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมกับการสอนอย่างละเอียดและได้บอกข้อที่บกพร่องเพื่อที่จะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปใช้


สรุป โทรทัศน์ครู
อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก ๆ (ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์) โรงเรียนอนุบาลภาสินี
     

    วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 3– 6 ขวบ มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา เคมี กลศาสตร์ แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้ การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้ การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ 2 –6 ขวบ ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ (pre –operative stage) เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง (self- centered) และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน เช่น รู้สี รู้รูปร่าง โดยรู้ทีละอย่าง จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้ หรือเอามาผนวกกันไม่ได้ ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ให้เหตุผล หรือทดลองด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การค้นคว้าหาคำตอบ การให้เหตุผล ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ
  การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์

การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542 : 12)

หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว

หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้

หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์ แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้ หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก 

การทดลองในแต่ละฐาน

ฐานที่  1 วงจรไฟฟ้า

ฐานที่  2 งูเต้นระบำ 

ฐานที่  3 น้ำทรายและน้ำมัน

ฐานที่  4  หมุดลอยน้ำ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557







วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกวันที่จะนำออกมาเสนอให้อาจารย์ดูและเพื่อนๆมานำเสนอแผนการสอนของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้เตรียมกันมาแต่ได้นำเสนอแค่ 6กลุ่ม ส่วนอีก 3กลุ่มอาทิตย์นำเสนอให้จบ



กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์
กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ
กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
กลุ่มที่5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์
กลุ่มที่6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์
กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร
กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
กลุ่มที่9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี


นำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กในการเขียนแผนการสอนสามารถปรังปรุงและแก้ไขให้สมบูรณ์แบบเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน ทำให้เด็กได้เกิดทักษะทางสติปัญญา และได้นำแนวทางการสอนของเพื่อนนำไปปรับใช้กับเด็กในการสอนในการเขียนแผนการสอนได้ด้วย




ประเมิน


ตนเอง ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบายและแต่งกายเรียบร้อย




เพื่อน ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุยกัน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นตามที่อาจารย์สอนและแนะนำ

อาจารย์ ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมกับการสอนอย่างละเอียดและได้บอกข้อที่บกพร่องเพื่อที่จะนำคำแนะนำของอาจารย์ไปใช้


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12




วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557



นี้อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มของตัวเอง และ อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอแผนการสอน ของแต่ล่ะะกลุ่ม

และอธิบายขั้นตอนการเขียนแผนว่ามีอะไรบ้าง 


1. สาระการเรียนรู้
2. เนื้อหา Mind map 
3. แนวคิด มีทั้งประโยชน์และโทษ
4. ประสบการณ์การสำคัญ
5. บูรณาการรายวิชา
6. Web ทำกิจกรรรม
- กิจกรรมประสบการสำคัญ
- การเคลื่อนไหวและจังหวะ
- ศิลปะสร้างสรรค์
- กิจกรรมเสรี 
- เกมกลางแจ้ง
- เกมการศึกษา
7. กรอบพัฒนาการ 
8. วัตถุประสงค์


นำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กในการเขียนแผนการสอน
สามารถปรังปรุงและแก้ไขให้สมบูรณ์แบบเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน ทำให้เด็กได้เกิดทักษะทางสติปัญญาและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก


ประเมิน


ตนเอง   ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบายและแต่งกายเรียบร้อย


เพื่อน    ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุยกัน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นตามที่อาจารย์สอนและแนะนำ

อาจารย์   ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมกับกานเขียนแผนการสอนอย่างละเอียด

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


วันที่  28    ตุลาคม   2557


กิจกรรมในห้องเรียน การทดลอง


กิจกรรมที่ 1


กิจกรรมที่ 2

กิจกรรมที่ 3


กิจกรรมที่  4



กิจกรรมที่  5


กิจกรรมที่  6







นำไปประยุกต์ใช้


สามารถนำการทดลองทั้ง 6 กิจกรรมนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กได้เรียนรู้และได้ลงมือปฎิบัติด้วยตัวเองจะทำให้เด็กมีการคิดหรือแก้ไขปัญหาในการทดลอง



ประเมิน



ตนเอง ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบายและแต่งกายเรียบร้อยได้ออกไปทดลองกับกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้

เพื่อน เป็นผู้ฟังที่ดีไม่คุยกันในเวลาเรียนตั้งใจทดลองกันอย่างสนุกสานา


อาจารย์ ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมกับการทดลองของแต่ละกิจกรรม
บันทึกอนุทินครั้งที่  10



วันที่ 21  ตุลาคม  2557

กิจกรรมในห้องเรียน



นำไปประยุกต์ใช้


     สามารถนำสื่อการสอนไปใช้ในการเรียนการสอน เป็นสิ่งประดิษฐ์อยู่ไกล้ตัวของเด็กและเด็กก็สามารถทำได้ไม่ยากจนเกินไปเด็กจะได้ทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนใหญๆได้และเด็กจะสามารถใช้เป็นของเล่นได้อีกด้วยและนำไปใช้ได้กับอนาคต


ประเมิน

ตนเอง   ตั้งใจเรียนเวลาที่ครูอธิบายและแต่งกายเรียบร้อยได้ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ตัวเองนำมา

เพื่อน    เป็นผู้ฟังที่ดีไม่คุยกันในเวลาเรียน
อาจารย์   ให้คำแนะนำและบอกเนื้อหาเพิ่มเติมกับสิ้นงานประดิษฐ์ของนักศึกษา