บทความเรื่อง มารู้จักกับสเต็มศึกษาว่าทำไมจึงมีความสำคัญ
โดย ดร.เปกกา เคส
การเรียนรู้ที่บูรณาการ การจัดการศึกษาทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับขั้นการศึกษาพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและรวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประชากรรุ่นใหม่ได้มีความรู้และทักษะการเรียนรู้ในทางสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่โลกเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต เพื่อให้เยาวชนไทยก้าวสู่การแข่งขันกับประชากรโลกได้ รวมทั้งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558(คศ.2015) “เสต็มศึกษา”นั้นจะช่วยพลิกโฉมการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยสเต็มศึกษานั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่เน้นการบูรณาการการเรียนรู้การนำไปใช้และการฝึกการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการใหม่ ๆไม่ใช่การเรียนที่เน้นการท่องจำหรือการเรียนเพื่อนำไปสอบเท่านั้น ซึ่งการเรียนแบบสเต็มศึกษานั้น จะเน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยครูผู้สอนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะตั้งคำถามให้เด็กสนใจและเรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนในห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา การพัฒนาขีดความสามารถของครู องค์ประกอบในการถ่ายทอดความรู้และการกระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งบประมาณที่จะมาดำเนินการโดยการกระทำที่เป็นระบบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่น กระทรวงไอซีที มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่จะต้องให้ความร่วมมือ เพื่อให้การเรียนการสอนแนวใหม่นี้ให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล รวมทั้งการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนได้ ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบสะเต็ม โดยเริ่มมือสามปีที่ผ่านมาและพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้บ่อยขึ้นเพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาแต่ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและการคิดค้นวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์เพื่อใช้ในอนาคต โอบามา ก็ได้สนับสนุนนโยบายการศึกษาของระบบสเต็ม โดยการให้องค์กรเอกชนที่ลงทุนโดยไม่หวังผลกำไรมาสนับสนุนผลักดันการศึกษาระบบสเต็มเพื่อเพิ่มคุณภาพนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์จากการวัดของหน่วยงาน Tim และ Pissa ได้ดำเนินการอยู่ ในหน่วยงานความร่วมือในระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยเราด้วยสำหรับประเทศที่มีการตื่นตัวกับการศึกษาในเรื่องสเต็มกันมากไม่วาจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อนเดีย ฯลฯ โดยจากการศึกษาพบว่าในจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสเต็มออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยนั้นยังไม่ตื่นตัวและยกระดับในเรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก สำหรับคนไทยในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น